วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2558

เกษตรไทยกับการก้าวสู่ ประชาคมอาเซียน

เกษตรไทยกับการก้าวสู่ ประชาคมอาเซียน

อนาคตเกษตรไทยภายใต้ AEC จะเป็นอย่างไรต่อไป จากข้อตกลงของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) ที่กำหนดให้ปี 2558 ประเทศในกลุ่มอาเซียนต้องลดภาษีสินค้าเป็นศูนย์ ซึ่งนั่น ย่อมส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรของไทยทั้งดีและร้ายแน่นอน ซึ่งอาจก่อให้เกิดทั้งอุปสรรคใหญ่ และโอกาสให้กับประเทศ โดยสินค้าเกษตร ไม่ว่าจะเป็นข้าว มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม ยางพารา อ้อย และอื่นๆ ที่เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของหลายๆ ประเทศในกลุ่มอาเซียน และประเด็นที่ท้าทายอย่างหนึ่งของประเทศไทยก็คือ เราจะฉกฉวยโอกาสได้มากน้อยเพียงใด ภายใต้การเปิดเสรีนี้

  1. เกษตรกรไทยก้าวไกลสู่ AEC กับ 
  2.     อ.ภูชิสส์ ศรีเจริญ สถานีทุนมนุษย์


                  
การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน ต้องขอให้รัฐบาลเป็นผู้หาข้อมูลการลงทุนเกี่ยวกับการเกษตรและสินค้าเกษตรในอาเซียน 10 ประเทศว่าแต่ละประเทศมีจุดเด่น-จุดด้อยอย่างไร ซึ่งสำหรับประเทศไทยเราพอจะรู้อยู่แล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าอีก 9 ประเทศ เช่น พม่า ลาว เขมร เวียดนาม ฯลฯ มีอะไรเป็นจุดเด่นในเรื่องการเกษตรบ้าง



รัฐบาลควรส่งเสริมและสนับสนุนนักธุรกิจไทย เพราะเท่าที่ติดตามข้อมูลเรื่องการเกษตรของประเทศในอาเซียน ประเทศไทยมีสินค้าเกษตรโดดเด่นไม่เป็นรองใคร ยกเว้นมาเลเซียที่เหนือกว่าใครในเรื่องปาล์ม แต่วันนี้ประเทศไทยได้มีการพัฒนาพันธุ์ปาล์ม ซึ่งสามารถแข่งขันกันได้ และยังมีพันธุ์ยางที่พัฒนาก้าวไกลเหนือมาเลเซีย จนพูดได้ว่าวันนี้ยางไทยเป็นที่หนึ่งของโลกและเหนือกว่ามาเลเซีย

                  
ในประเทศที่มีจุดเด่นด้านการเกษตรและยังมีโอกาสที่จะพัฒนาได้ ประเทศไทยต้องพิจารณาเข้าไปลงทุน เพราะปัจจุบันโลกไม่มีพรมแดนอีกต่อไป สนามรบเป็นสนามการค้า ดังที่ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี เคยกล่าวไว้ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยที่จะนำความความรู้และความสามารถของ นักธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศ

                  
ยกตัวอย่าง กัมพูชาผลิตข้าวได้ปีละเป็นล้านตันแต่ปรากฏว่าไม่มีตลาดรองรับ จึงเป็นโอกาสของไทย นักลงทุนไทยสามารถซื้อข้าวจากกัมพูชาและนำไปขายในตลาดต่างประเทศ คนไทยก็ได้กำไร กัมพูชาก็มีเงินตราเข้าประเทศ นอกจากนี้ไทยยังสามารถนำสินค้าอื่น ๆ ไปขายให้กับกัมพูชาได้อีก เช่น รถมอเตอร์ไซต์ รถยนต์ ฯลฯ

                  อีก 3 ปีข้างหน้า 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมถึงประเทศไทย จะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องรวมกันเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยการเปิดเสรีด้านสินค้า บริการและการลงทุน ดังนั้น แต่ละประเทศต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่เออีซี รวมทั้งปกป้องตนเองให้สามารถดำรงสถานะที่ได้ประโยชน์และไม่เสียเปรียบประเทศสมาชิกอื่น ๆ ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลเรื่องมาตรฐานสินค้าพืช เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับเกษตรกรไทย



นอกจากด้านกฎหมายแล้ว กรมฯ ยังมีการเตรียมความพร้อมในด้านงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชที่มีต้นทุนต่ำ เพิ่มผลผลิต และมีคุณภาพ รวมทั้งวางแผนการผลิต โดยเน้นการผลิตพืชที่มีศักยภาพในการแข่งขันระหว่างอาเซียน มีการวิเคราะห์ผลกระทบรายสินค้าทั้งเชิงบวกและลบของประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน การกำหนดค่าสารพิษตกค้างสูงสุดในผลผลิตที่ยอมรับได้ หรือเอ็มอาร์แอลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลรวมทั้งมาตรฐานที่อาเซียนกำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกัน ควบคู่กับการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกที่สูงกว่าการนำเข้าโดยคำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ
การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นสิ่งที่ดี แต่ทุกคนจะต้องปรับตัวในการเรียนรู้และพัฒนาจุดด้อย เพิ่มประสิทธิภาพจุดเด่นให้ดีขึ้นไปอีก ซึ่งเกษตรกรมีศักยภาพอยู่แล้ว อีกทั้งเทคโนโลยีการผลิตต่างๆ ของเราก็มีอยู่มากมาย ถ้าสามารถร่วมมือกันสร้างเครือข่ายเกษตรกรเพื่อผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนด เราจะได้การยอมรับจากผู้ประกอบการมากขึ้น นอกจากนี้เรายังมีแหล่งวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาถูกกว่าการนำเข้าจากนอกกลุ่มอาเซียน ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง ดังนั้นการขายสินค้าเราจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศ 60 ล้านคน ขยายเป็นประชากรในภูมิภาคอาเซียน 600 ล้านคน รวมไปถึงตลาดนอกอาเซียนที่ประเทศไทยส่งออกอีกจำนวนมาก

                  



ที่มา:CP E-News / dailynews.co.th / agri.eco.ku.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น