วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

วนเกษตร

วนเกษตร (Agroforestry )
       เหตุผลที่มาของรูปแบบวนเกษตร 
       จากสาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่า ที่ถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมาย การบุกเบิกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรกรรม เมื่อมีการขยายตัวของการทำเกษตรกระหลักอย่างแพร่หลาย การผลิตเพื่อการค้า ทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติตามมาทั้งทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรดินและน้ำ ทางออกในการรักษาหรือเพิ่มพื้นที่ป่าเอาไว้ คือ การกระทำระบบวนเกษตร (Agroforestry ) ระบบวนเกษตร จึงนับว่าเป็นรูปแบบเกษตรแบบยั่งยืนอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นการผลิตทางการเกษตรที่ถือเอาความสมดุลกับระบบนิเวศในพื้นที่ป่าไม้เป็นหลัก
       วนเกษตร จึงมีความหมายทั่วไป คือ ระบบการใช้ที่ดินเพื่อดำรงกิจกรรมการเกษตรต่างๆ ระหว่างต้นไม้ในพื้นที่ป่าระหว่างหรือไม้ยืนต้นที่ปลูกขึ้น โดยที่การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์จะต้องมีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน และเกื้ลกูลกับระบบนิเวศป่าไม้ในท้องถิ่น
       วัตถุประสงค์ของวนเกษตร มีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 3 ประการ กล่าวคือ
              (1) การดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างพื้นที่ป่ากับการเกษตร
              (2) การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ
              (3) การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
       หลักการและเงื่อนไขของวนเกษตร
              (1) การมีต้นไม้ใหญ่และพืชหลายระดับ คือ การใช้ที่ดินมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและยังช่วยให้ระบบมีกลไกในการควบคุมตัวเอง และสามารถช่วยอนุรักษ์ดินได้เป็นอย่างดี
              (2) การเลือกพืชเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับพื้นที่ คือ การใช้ประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกันของพืชสัตว์และป่าไม้ ซึ่งจะใช้ประโยชน์ ดังนี้
                            ก. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อระดับเกษตรในไร่นา
เพิ่มเสถียรภาพและความยั่งยืนของการผลิต ประสิทธิภาพของการใช้ที่ดิน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการเกษตรที่ทรุดโทรมให้ฟื้นฟูกลับคืนดีขึ้น และยังลดปัญหาความเสียหายจากการทำลายของโรคและศัตรูพืช
                            ข. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจระดับประเทศ
ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชนบทดีขึ้นจากการที่โภชนาการของตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาการอพยพจากชนบทเข้าสู่เมืองได้ สามารถหมุนเวียนทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดเป็นผลพลอยได้ เช่นแรงงานสัตว์ แก็สชีวภาพ และช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติโดยส่วนรวมของประเทศ
                            ค. การใช้ปุ๋ยธรรมชาติ
โดยจะได้รับประโยชน์เติมที่และไม่รบกวนระบบนิเวศของป่าไม้โดย การเพิ่มอินทรีย์วัตถุ ธาตุไนโตรเจนให้กับดิน การปลูกปุ๋ยในลักษณะพืชตระกูลถั่วคลุมดิน ปุ๋ยพืชสดเพื่อคุมวัชพืช จะทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และปลูกพืชคลุมดินเพื่ออนุรักษ์หน้าดิน


   
 
       การพัฒนาวนเกษตรในประเทศไทย
       คาดว่าน่าจะมีการพัฒนารูปแบบมาจากประเทศพม่า โดยเรียกว่า ระบบการผลิตแบบ “ตองยา”คือการปลูกพืชหรือทำไร่ระหว่างต้นไม้ต่อมาได้มีการนำมาใช้ในประเทศไทยแต่ก้ไม่แพร่หลายนัก เพราะวิธีนี้ชาวไร่ปลูกพืชเกษตรได้เพียงระยะเวลาอันสั้น นำไปสู่การบุกรุกแผ้วถางป่า ในระยะหลังกรมป่าไม้ดำเนินการปลูกสวนป่าเองมิได้อาศัยการปลูกแบบตองยาอีกต่อไป กระทั่งปี พ.ศ. 2510 องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้ทำการแก้ปัญหาการทำเลื่อนลอย เรียกว่า ระบบหมู่บ้านป่าไม้ (Forest-vilage) เป็นการนำระบบปลูกป่าแบบตองยามาปรับปรุง ตลอดจนจ้างแรงงานในครอบครัวในการปลูกป่า หรือทำอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับไม้ เรียกวิธีการนี้ว่า ระบบตองยาประยุกต์( Modified taungya system ) การจนถึงปี พ.ศ. 2522 กรมป่าไม้ได้จัดตั้งกองอนุรักษ์ต้นน้ำและกองจัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติและได้เริ่มนำวนเกษตรมาใช้กับ ชาวไทยภูเขา และชาวไทยพื้นราบในลักษณะหมู่บ้าน โดยกองอนุรักษ์ต้นน้ำดำเนินการเฉพาะบนภูเขาในภาคเหนือตอนบน กองอนุรักษ์ต้นน้ำวนเกษตรที่สูงที่ทำงานในลักษณะส่งเสริมและพัฒนาชาวเขาในรูปแบบการเพาะปลูกแบบวนเกษตร การจัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ มีโครงการทดลองปลูกป่าสมบูรณ์แบบภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นที่ป่าเขาหลวง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา





        

      รูปแบบของวนเกษตร มีอยู่ 3 ระบบ คือ
            1. ระบบปลูกป่า- นาไร่ ( Agrisylvicultural system) มีความแตกต่างเพราะการปลูกพืชกสิกรรมและการปลูกป่านั้น เป็นการทำการเกษตรในที่ดินอันเป็นของรัฐ และรัฐยังถือว่าไม้ที่ปลูกนั้นเป็นของรัฐ นอกจากพืชกสิกรรมเท่านั้นที่จะเป็นของราษฏร
            2. ระบบปลูกป่า- หญ้าเลี้ยงสัตว์ ( Sylvopastoral system ) เป็นการผลิตปศุสัตว์มารวมกับการปลูกป่า กระทำทั้งในลักษณะของการปลูกป่าเพื่อใช้ส่วนต่างๆ ของต้นไม้เพื่อการเลี้ยงปศุสัตว์ เพื่อหวังประโยชน์จากไม้โดยตรง หรือการปลูกหญ้าเสริม หรือการเลี้ยงปศุสัตว์ในสวนป่า ปศุสัตว์ช่วยในการกำจัดหญ้า
            3. ระบบเลี้ยงสัตว์-ปลูกป่า-นาไร่ ( Agrosylvopastoral system) ระบบที่มีตัวแปร หรือปัจจัยอยู่รวมกันถึงสามอย่างถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างประณีต ปัจจัยทั้งสามอย่างที่ว่ามานี้หากสภาพการณ์ต่างๆเหมาะสมและสมบูรณ์แล้วก็ไม่เป็นปัญหาต่อการทำงาน
            ข้อเด่นของวนเกษตร มีอยู่ 2 ประการหลัก กล่าวคือ
                    1) การอยู่ร่วมกันของพื้นที่ป่ากับการเกษตร
                    2) การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ


1 ความคิดเห็น:

  1. การเกษตรจะเกี่ยวพันกับการบุกรุกทำลายป่าไม้ต้นน้ำลำธารเพื่อการทำไร่เลื่อนลอยและการบุกรุก

    ตอบลบ